กิจกรรม 8 -12 พฤศจิกายน 2553



ตอบข้อ 3
อธิบาย
ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์
 1.) ผนังเซลล์ เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโกสเป็นหลัก  ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายให้เเก่เซลล์พืช
ให้เซลล์พืช  ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความเเข็งเเรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์
         2.)  เยื่อหุ้มเซลล์  เป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน  ทำหน้าที่ควบคุ้มปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออก
จากเซลล์ เเละมีรูปเล็กๆเพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้เเละไม่ให้สารบางอย่างผ่านออกจากเซลล์จึงมีสมบัติเป็น
เยื่อบางๆ
 3.)  ไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่เป็.นของเหลวอยู่ภายในเซลล์  มีสารละลายน้ำได้เช่นโปรตีน  ไขมัน  เกลือเเร่
ประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ ที่สำคัญหลายชนิด
 4.)  ไมโทคอนเดีรย  เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะที่มีลักษณะยาวเป็นเเหล่งผลิตสารที่มีพลังงานสูงให้เเก่เซลล์       
5.)  ไรโบโซม  เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นเเหล่งที่มีขนาดเล็ก  เป็นเเหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่ง    
ออกไปใช้นอกเซลล์  
             6.)  กอจิคอมเพลกซ์  เป็นโครงสร้างที่เป็นสถุงเเบนๆ คล้ายจานซ้อนกันเป็นชั้นๆหลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรต
กับโปรตีน และสง่งออกไปใช้ภายในเซลล์
   7.)  เซนตริโอล  พบในเซลล์ศสัตว์ เเลโพรติสต์บางชนิดมี หน้าที่เกี่วยกับการเเบ่งเซลล์                                      
             8.)  เเวคิวโอล  เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวก น้ำมัน  ยาง และแก็สต่างๆ             
           9.)  นิวเคลียส  อยู่ตรงกลางเซลล์  เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดเเดงของสัตว์เลี้ย
                  ลูกด้วยนมเเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียสทำหน้าที่  ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์  
ที่มา:http://www.thaigoodview.com/node/66680

ตอบข้อ 4
 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

       เอกโซไซโทซิส
          เอกโซไซโทซิสเป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์สารที่จะถูกส่งออกนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสิเคิล เมื่อเวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่อยุ่ภายในเวสิเคิลก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร
ที่มา:
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/25/2/miracle_cell/cp07_transport.html                                                                                                           
ตอบข้อ3
อธิบาย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเป็นพิษแอลกอฮอล์

บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปอย่างรวดเร็วกลายเป็นวิถีชีวิตขณะนี้มีเยาวชนมากขึ้นได้โดยไม่ต้องรับเอาความรู้เกี่ยวกับผลร้ายใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน underestimates ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผู้ดื่มหนักมีผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้มี แต่พยายามให้พอดีกับสัปดาห์ของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในหนึ่งวัน มีต่อ ...

การรักษาโรคพิษสุรา
การรักษาโรคพิษสุรา
การดื่มการดื่มสุราค่อนข้างเหมือนกันกับผื่นและเยาวชนขาดความรับผิดชอบ แต่สิ่งที่พวกเขาไม่ทราบว่าเป็นที่พวกเขากำลังเล่นกับชีวิตของพวกเขา ละเมิดแอลกอฮอล์มักจะนำไปสู่การเป็นพิษแอลกอฮอล์เมื่อคนกินเหล้ามากขึ้นกว่าที่ร่างกายสามารถทน ต่อ ...



จำนวนผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นพิษ?
จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุรา
บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมากขึ้นกว่าที่ติดนิสัยเพียงส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ละเมิดแอลกอฮอล์ยังเป็นที่ขึ้นรวมถึงจำนวนมากของวัยรุ่นและคนมีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ มีพิษมากมีรายงานการเชื่อมโยงการดื่มหนักที่เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มอัตราการตายอัตราความรุนแรงที่เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรค, อุบัติเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์และ อ่านต่อ ...

สถิติเกี่ยวกับการเป็นพิษแอลกอฮอล์
สถิติเกี่ยวกับการเป็นพิษแอลกอฮอล์
มีอันตรายมากที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราในลักษณะที่เรื้อรังที่ไม่เหมาะสมได้ พวกเขาเกิดขึ้นจากโรคพิษสุราเรื้อรังและมีผลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้คนทั่วไป แต่น่าเศร้าที่อันตรายเหล่านี้ไปไม่เคยได้ยิน เฉพาะคนที่ใบหน้าจนเกิดปฏิกิริยาเป็นอันตรายต่อชีวิตตัวเองว่าพวกเขาตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงของ More ...

พิษแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่เสียชีวิตจากอัตรา?
คืออัตราการตายจากโรคพิษสุราอะไร
สุราเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตจำนวนมากรอบ ดื่มหนักสามารถเปลี่ยนนิสัยการอ่อนของประชาชนในการดำเนินชีวิตต่างๆ แต่น่าเสียดายที่ผลของการละเมิดแอลกอฮอล์และยาเสพติดจะทำลายอยู่เสมอและไม่สนใจ มีเพียงอย่างเดียวจำนวนมากเพื่อเป็นกรณีของการเสียชีวิตรายงานจากเมาขับรถไม่ลืมตับแข็งและความผิดปกติของ



ที่มา

  ตอบข้อ3
อธิบาย
สารละลายบัฟเฟอร์
สารละลายบัฟเฟอร์  หมายถึง  สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบส         ของกรดนั้น  หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น   จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม 
หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์  คือเป็นสารละลายที่ใช้ควบคุม  ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย  เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก  เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  นั่นคือสามารถ  รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ  แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก  เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า  buffer capacity
                สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1)  สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน  (Acid buffer solution)        สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7  เป็นกรด  เช่น
                                                กรดอ่อน  +  เกลือของกรดอ่อนนั้น
                                              CH3COOH  +  CH3COONa
                                              HCN  +  KCN
                                              H2S  +  Na2S 
                                              H2CO3  +  NaHCO3
 2)  สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน  (Basic buffer solution) 
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7  เป็นเบส  เช่น
                                                เบสอ่อน  +  เกลือของเบสอ่อนนั้น
                                                NH3  +  NH4Cl
                              NH3  +  NH4NO3
                              Fe(OH)2  +  FeCl2
                              Fe(OH)3  +  FeCl3
 วิธีเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
   1.  เตรียมโดยตรงโดยการผสมกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดนั้นหรือผสมเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้นก็จะได้เกลือของกรดอ่อนและเกลือของเบสอ่อน
2.  เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส ดังนี้
     1)  บัฟเฟอร์กรด  เตรียมโดยใช้กรดอ่อน( แตกตัวบางส่วน )ทำปฏิกิริยากับเบส (แก่หรืออ่อน)
 เช่น  HF(aq)  +  NaOH(aq)  -----------------> NaF(aq)  +  H2O(l)
  ถ้าใช้ HF มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาจนสมบูรณ์แล้ว NaOH จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง HF กับ NaF ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์กรด (กรดอ่อน+เกลือของมัน)
2)  บัฟเฟอร์เบส  เตรียมโดยใช้เบสอ่อน( แตกตัวบางส่วน )  ทำปฎิกิริยากับกรด  (แก่หรืออ่อน)  เช่น
          HCl(aq)  +   NH4OH(aq)   ---------------->   NH4Cl(aq)  +    H2O(l)  
         ถ้าใช้  NH4OH มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้ว HCl จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง NH4OH กับ  NH4Cl  ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์เบส  (เบสอ่อน + เกลือของมัน)
 การควบคุมค่า pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์ 
                ถ้าบัฟเฟอร์มีสาร CH3COO-  กับ CH3COOH  อยู่ในระบบ         ถ้าเติมกรด เช่น HCl ลงไป  H+  ในกรดจะถูกสะเทินด้วยคู่เบสดังนี้
                         CH3COO-  +  H+        ↔       CH3COOH
 ถ้าเติมเบส เช่น  KOH  ลงไป  OH-  ในเบสจะถูกสะเทินด้วยคู่กรณีดังนี้
                            CH3COOH  +  OH-      ↔        CH3COO-  +  H2O   
 สรุปได้ว่า   -  ถ้าเติมกรดลงไป  H+  ในกรดจะถูกสะเทินด้วยเบส
                     -  ถ้าเติมเบสลงไป  OH-  ในเบสจะถูกสะเทินด้วยกรด          
-  กรดแก่  เบสแก่  เป็นบัฟเฟอร์ไม่ได้เพราะสารพวกนี้แตกตัวได้  100% ไม่มีโอกาสเกิดคู่กรดคู่เบส
ชนิดของ Buffer
1.คู่เหมือนไม่ทำปฏิกิริยากัน เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
2.บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
3. บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่างกัน 1ตัว
2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
     1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7   เป็นกรด
     2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7    เป็นเบส
สูตรที่ใช้ในการหาค่า PH และ POH
pHของ Buffer ใช้สูตร
                                           
                                                                  เมื่อ  A-     = ความเข้มข้นของเกลือ
                                                                          HA   = ความเข้มข้นเริ่มต้นของกรด
pOHของ Buffer ใช้สูตร pOH = -logKb + log [เกลือ]/[เบส]
**** สารละลายบัฟเฟอร์จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ [HA] = [A-] ซึ่งจะทำให้ [H+] = Ka ด้วยเหตุนี้จึงเลือกใช้บัฟเฟอร์ที่มีค่า pKaใกล้เคียงกับ pH ที่ต้องการเตรียม****
ที่มา






ตอบข้อ1
อธิบายโรคเหี่ยวของผักกาดขาว สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ลักษณะอาการของโรคนี้ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มเหี่ยว สังเกตได้ง่ายคือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยวต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหียวเพิ่มขึ้นและเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้นเพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ผักกาดขาวที่ปลูกในสภาพดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก
               การป้องกันกำจัด ก่อนการปลูกจะต้องเตรียมดินให้โปร่งและมีการระบายน้ำดี และต้องมีการปรับปรุงแก้ไขดินโดยใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก การหว่าน ปุ๋ยเม็ดในระยที่เป็นต้นกล้าจะทำให้เกิดอันตรายมาก จึงควรระมัดระวังให้มากโดยใส่แต่เพียงเล็กน้อย และควรใส่ปุ๋ยที่มีสูตรอื่นๆ ด้วยเพื่อช่วยให้ต้นกล้าเจริญแข็งแรง ควรปลูกสลับกับผักอย่างอื่นบ้างแบบพืชหมุนเวียนพืชตระกูลถั่วเพื่อบำรุงดิน ส่วนการใช้ยาป้องกันกำจัดในดินที่มีโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า
               โรคเน่าคอดิน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pythium sp. โรคนี้เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในแปลงเพาะกล้าเท่านั้น การหว่านกล้าที่แน่นทึบ อับลม และต้นเบียดกันมากจะเป็นหตุให้เกิดโรค ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคอยู่แล้วต้นกล้าผักจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ เพราะแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นจะเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นวงกลมกว้างขึ้น สำหรับต้นกล้าที่โตแล้วจะค่อยเหี่ยวแห้งตายไป
               การป้องกันกำจัด บนแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อยๆ ราดลงไปบนผิวดินบนแปลงให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลดียิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดยมิล เอ็มแซด 72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี หรือใช้ปูนใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้า จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงและไม่ต้องใช้ยาอีกเลย
               โรคใบด่างของผักกาดขาว สาเหตุเกิดจาเชื้อไวรัส Turnip mosaic ผักกาดขาวที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลืองแคระแกร็น ใบมีขนาดเล็กลง ตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย ในบางครั้งใบจะเรียวยาวม้วนงอและเนื้อใบมีน้อยกว่าปกติ
               การป้องกันกำจัด ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อโรค กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรกโดยการเผาทำลาย และป้องกันกำจัดแมลงพาหนะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมีไดเมทโธเอท ในอัตรา 30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
               หนอนกระทู้ผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spodoptera litura มักพบบ่อยมากในพืชผักพวกผักกาด จะกัดกินใบ ก้านใบหรือเข้าทำลายหัวปลีมักจะเข้าทำลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้จะสังเกตได้ง่ายคือ ลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบคล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่างๆ กัน แถบสีขาวข้างลำตัวไม่ค่อยชัด หัวมักมีจุดสีดำใหญ่ตรงปล้องที่สาม แต่ถ้าหนอนมีขนาดใหญ่มักจะไม่ค่อยเห็นชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 3-4 เซนติเมตรเคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนจะกินเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จึงเข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน ลักษณะการทำลายของหนอนกระทู้ผักจะกัดกินก้านใบ ใบ และปลีในระยะเข้าปลี
               การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูสวนผักอยู่เสมอ เมื่อพบไข่ควรทำลายเสียเป็นการชะงักการระบาดไม่ให้ลุกลามต่อไป สำหรับสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้แก่ เมโธมิล อัตรา 10-12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไตรโซฟอส อัตรา 50-60 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
               เพลี้ยอ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lipaphis erysimi ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้ออกจากท้องแม่ได้โดยที่เพศเมียไม่ต้องผ่านมาผสมพันธุ์ ตัวอ่อนเมื่อออกจากตัวแม่ใหม่ๆ จะพบว่ามีลำตัวขนาดเล็กมาก ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน นัยน์ตาสีดำ ขาทั้ง 3 คู่มีสีเช่นเดียวกับลำตัวหนวดสั้น รูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย ระยะเป็นตัวอ่อนจะมีการลอกคราบ 4 ครั้ง ตัวอ่อนมีอายุประมาณ 5-6 วัน หลังจากนั้นก็จะเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกมีปีกและไม่มีปีก ระยะตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-18 วัน ตัวเต็มวัยตัวหนึ่งสามารถออกลูกได้ตลอดชีวิตประมาณ 75 ตัว
               ลักษณะการทำลาย เพลี้ยงอ่อนชนิดนี้ทำลายพืชได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งส่วนยอด ใบอ่อน ใบแก่และช่อดอก ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือ ยอดและใบจะหงิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พืชก็จะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะค่อยๆ มีสีเหลืองและร่วงหล่นลำต้นแคระแกร็น ถ้าทำลายช่อดอกจะทำให้ดอกร่วงหล่นหลุดไปจากต้น ทำให้ผลผลิตลดลง
               การป้องกันกำจัด เมื่อพบเพลี้ยอ่อนเข้าทำลายควรใช้สารเคมีกลุ่มมาลาไธออน มีชื่อการค้าเช่น มาลาเทน, มาลาไธออน 83% ในอัตรา 30-55 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน นอกจากนี้อาจใช้ในอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 5 กรัมต่ำน้ำ 20 ลิตร ทำการพ่นเป็นครั้งคราว ยาชนิดนี้เป็นยาที่เหมาะสำหรับสวนผักหลังบาน ป
ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น